
ตู้เย็น

Introduction
ตู้เย็นเป็นหนึ่งในเครื่องใช้ในครัวที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยตู้เย็นของชาร์ปได้นำเอาเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์เข้ามาติดตั้งไว้ภายใน ช่วยให้อาหารคงความสดได้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การหมุนเวียนของอากาศภายในตู้เย็นสะอาดขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตู้เย็นที่ดี ไม่เพียงแต่ต้องรักษาความสดใหม่ของอาหารในสภาพแวดล้อมที่สะอาด แต่ยังต้องช่วยประหยัดพลังงานด้วยเช่นกัน และแม้ว่าจะมีการทำงานของ J-Tech อินเวอร์เตอร์ เข้ามาช่วยทำให้เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานมากว่าเดิม แต่ชาร์ปยังได้มองไปถึงการพัฒนาอื่นๆเช่นกัน อย่างการปรับปรุงซีลปิดประตู โดยคิดค้นตามลักษณะของเปลือกหอยพัดซึ่งนำไปสู่การประหยัดพลังงานมากขึ้น
Biomimetic Technology Application

แรงบันดาลใจจากเปลือกหอยพัด สู่ซีลปิดประตูตู้เย็น
ซีลปิดผนึกประตูถูกปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นโดยการนำลวดลายของหอยพัดมาประยุคใช้กับขอบบานประตูตู้เย็น โดยพื้นผิวของบานประตูถูกผนึกไว้กับตัวตู้อย่างแน่นหนาด้วยแรงแม่เหล็ก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวตู้และบานประตูจะยังคงมีอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ช่องว่างระหว่างกันและกันไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรงไปตามแนวบานประตูเหมือนกับตู้เย็นธรรมดาทั่วไป นั่นเพราะลักษณะของซีลปิดผนึกที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นรอยหยักขนาดเล็กคล้ายลายเปลือกหอยพัด กระจายแบบเว้นระยะห่างกันไปเรื่อยๆ ซึ่งความไม่สม่ำเสมอของผิวสัมผัสนี้นี่เองที่ทำให้เกิดแรงต้านอากาศมากขึ้น และเป็นการยากสำหรับการไหลเวียนไปมาระหว่างอากาศภายนอกตู้เย็นและอากาศภายในตู้เย็น
Biomimetic Technology Benefit
จากการใช้ลวดลายที่ไม่สม่ำเสมอกันของเปลือกหอยพัดกับชิ้นส่วนประตูตู้เย็น ทำให้แรงต้านทานต่ออากาศของประตูมีมากขึ้น และปิดผนึกตู้เย็นได้สนิทแนบแน่นยิ่งขึ้น ทำให้เป็นการยากที่อากาศร้อนภายนอกตู้เย็นจะผ่านเข้าไป และในขณะเดียวกันก็เป็นการยากสำหรับอากาศเย็นภายในตู้เย็นที่จะผ่านออกไปภายนอกตู้เช่นเดียวกัน นั่นจึงนำไปสู่การลดการใช้พลังงานในที่สุด

หอยพัด เป็นชื่อสามัญที่ใช้กับหอยกาบน้ำเค็มชนิดต่างๆ หอยพัดส่วนใหญ่จะนอนพักอาศัยตามพื้นทราย และว่ายน้ำหนีไปเมื่อถูกสัมผัสด้วยปลาดาวหรือนักล่าอื่น ๆ หอยพัดมีรูปร่างคล้ายหอยครึ่งวงกลม เปลือกของมันประกอบด้วยฝาสองด้าน ซ้ายขวาที่มาบรรจบกัน โดยฝาทั้งสองด้านมีความคล้ายคลึงกันและบรรจบเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิท เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากนักล่าต่างๆ